อย่างที่ทราบกันดีว่า ทุกวันนี้มีการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ที่เรียกกันว่า การขายฝาก ด้วย โดยการขายฝากที่ดิน หรือบ้าน เป็นการสัญญาซื้อ-ขายรูปแบบหนึ่ง หลังจากที่มีการทำสัญญาขายฝากกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กรรมสิทธิ์ของสินทรัพย์ก็จะต้องตกไปเป็นของผู้ที่ซื้อ แต่ทั้งนี้สำหรับผู้ที่ทำการขายฝากก็สามารถไถ่ถอนทรัพย์ของตัวเองคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา ปัจจุบันนี้มีบริษัท ขายฝาก บ้านและที่ดินให้บริการอยู่มากมาย เพื่อให้การขายฝากนั้นเป็นไปได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น ซึ่งบริษัทจะเป็นผู้ดำเนินเรื่องต่าง ๆ เอง แล้วบริษัทดำเนินการอย่างไรบ้าง และมีเอกสารอะไรที่ต้องจัดเตรียมไว้หากต้องการขายฝาก ไปติดตามกัน 

การดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ ของบริษัท ขายฝาก บ้าน มีอะไรบ้าง 

ในการที่จะขายฝากบ้านนั้น ทางบริษัท ขายฝาก บ้านจะต้องทำเรื่องดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ โดยจะเริ่มจากการไปดูบ้าน หรือที่ดินที่ต้องการขายฝากก่อนว่าเป็นอย่างไร อยู่ตรงไหน หลังจากนั้นจึงค่อยมาทำเรื่องตกลงราคาในการขายฝากกัน หากว่าตกลงราคาเรียบร้อยขั้นตอนต่อไปก็คือ การนัดทำสัญญาขายฝากกัน ณ กรมที่ดิน เมื่อมีการทำสัญญาตามกฎหมายเสร็จแล้ว ผู้ที่ต้องการขายฝากบ้านก็จะได้รับเงินสดในทันที 

ในส่วนของดอกเบี้ยที่บริษัท ขายฝาก บ้าน หรือผู้ซื้อฝากจะได้รับ ก็จะอยู่ที่ปีละไม่เกิน 15% โดยจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด หรือเป็นไปตามตกลงกันเอาไว้ในสัญญา ในระหว่างระยะเวลาของสัญญา ผู้ที่ขายฝากจะต้องจ่ายดอกเบี้ยทุกเดือนตามที่ตกลงกันไว้ หากว่าผู้ที่ขายฝากต้องการจะไถ่ถอนบ้านคืนจากผู้ซื้อฝาก ก็จะต้องจ่ายเงินตามที่กำหนดไว้ตามระยะเวลาของสัญญาที่ตกลงกัน ซี่งจะต้องไปทำเรื่องการไถ่ถอนบ้าน ณ กรมที่ดิน 

เอกสารที่ต้องใช้ในการทำสัญญาขายฝากกับบริษัท ขายฝาก บ้าน 

– โฉนดที่ดินฉบับที่เป็นตัวจริง 

– บัตรประชาชนตัวจริง ในกรณีที่มีการเปลี่ยนชื่อ หรือเปลี่ยนสกุล หรือเปลี่ยนทั้งชื่อ-นามสกุล ก็จำเป็นที่จะต้องนำเอกสารการเปลี่ยนมาด้วย 

– ทะเบียนบ้านตัวจริง ในกรณีที่มีการเปลี่ยนบ้านเลขที่ ก็จำเป็นที่จะต้องนำเอกสารการเปลี่ยนมายื่นด้วย 

– ใบทะเบียนสมรส ในกรณีที่มีการหย่าร้างเกิดขึ้น ให้ทำการเตรียมใบหย่าและใบแนบท้ายใบหย่ามาให้ด้วย 

– ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ต้องชำระ ณ ที่ทำการกรมที่ดิน นั่นก็ได้แก่ ค่าธรรมเนียมของกรมที่ดิน, ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (หัก ณ ที่จ่าย) ,ค่าโอน หรือค่าธรรมเนียมการทำนิติกรรมจำนวน 2% จากราคาประเมิน หรือราคาขาย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับว่าแล้วแต่อย่างไหนจะสูงกว่ากัน, ค่าธรรมเนียมจดจำนองจำนวนร้อยละ 1 %, ค่าอากรแสตมป์ และภาษีธุรกิจเฉพาะ 

จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็คงจะช่วยทำให้เข้าใจกันได้มากยิ่งขึ้นแล้วว่า การทำเรื่องขายฝากบ้านกับทางบริษัท ขายฝาก บ้านต้องทำอย่างไรบ้าง แล้วมีเอกสารอะไรบ้างที่ต้องจัดเตรียมเอาไว้สำหรับการทำเรื่องขายฝาก อย่างไรก็ตาม ก่อนการทำสัญญาขายฝากบ้าน ควรที่จะตรวจสอบรายละเอียดของสัญญาให้แน่ชัดก่อนว่าเป็นอย่างไร และมีสิ่งสำคัญที่ต้องมีในสัญญาครบไหม เพื่อไม่ให้โดนเอาเปรียบ หรือโดนหลอกได้นั่นเอง